ขนหางทั้งหมดมีสีขาว มีลายแถบสีดำพสดบริเวณเหนียง โคนปากเป็นรอยย่นหรือรอยหยัก ตัวผู้บริเวณกระหม่อมและขนยาวบนกระหม่อมสีน้ำตาลเข้ม เหนียงเป็นสีเหลือง เห็นโหนกแข็งได้ชัดเจน ตัวเมียมีหนังรอบดวงตาสีทึบไม่ฉูดฉาด โหนกแข็งเล็ก เหนียงสีฟ้า ตัวที่ยังไม่เต็มวัยเห็นรอยย่นที่โคนปากไม่ชัดเจน โหนกแข็งเล็กกว่า
ชนิดย่อยพบครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ทางภาคเหนือของประเทศไทย กระจายพันธุ์ในอินเดียตะวันออก จนถึงจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะอันดามัน และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทั่วไป พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าชายเลน ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ผลไม้ โดยเฉพาะลูกไทร ลูกหว้า ตาเสือ ยางโอน แมลง สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
พบเป็นฝูงเล็กๆ และอาจจะพบมากในบริเวณที่มีอาหารสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะเกาะตามยอดไม้ บินลงมายังพื้นดินเป็นครั้งคราวเพื่อไล่จิกเหยื่อซึ่งเป็นสัตว์ต่างๆ
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 ,สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ (LC) Least Concern คือ สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกกรามช้างเป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น ผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวต่อฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทำรังตามโพรงของต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติในระดับที่ค่อนข้างสูง หรือประมาณ 25-30 เมตร โดยวางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ระยะเวลาในการฟักไข่ 31 วัน ตัวผู้จะออกหากินเลี้ยงตัวเมียและลูกในโพรงอีก 8-12 สัปดาห์ จากนั้นตัวผู้จะเจาะปากโพรงให้ตัวเมีย และลูกๆ ออกมาจากโพรง ซึ่งในช่วงนี้ตัวผู้ก็ยังคงทำหน้าที่หาอาหารมาป้อนตัวเมียและลูกๆ อยู่ จนกระทั่งลูกนกแข็งแรง บินได้ดี และหาอาหารเองได้ จากนั้นจะทิ้งรังไปรวมเป็นฝูงกับนกครอบครัวอื่นๆ ต่อไป
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก (100 ซม.)
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560