เป็นนกแก้วที่ขนหางคู่กลางยาวมาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หางเล็กเรียวยาว ลำตัวสีเขียว จะงอยปากอวบอูม ปลายปากงุ้มลงสีแดง มีแถบสีแดงบริเวณหัวปีก นกตัวผู้มีแถบแดงเล็ก ๆ บริเวณคอด้านหลัง และมีแถบดำบริเวณคอด้านหน้า ซึ่งไม่มีในนกตัวเมีย ใต้หางสีเหลืองคล้ำ ใบหน้าและลำคอสีปนเหลือง
พบในอินเดีย ชอบอยู่อาศัยบริเวณ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น เขตแพร่กระจายสามารถพบเห็นได้ที่ พม่า อันดามัน ลาว อินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
ผลไม้ที่มีเปลืองอ่อนนุ่ม และเปลืองแข็ง เมล็กธัญพืช เมล็ดพืช ใบไม้ และผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ
สามารถใช้ปากเกาะเกี่ยวเคลื่อนตัวไปตามกิ่งไม้ได้ดี หากินอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อาจพบชุมนุมเป็นฝูงหใญ่มากในบริเวณแหล่งอาหารต่าง ๆ ปกติจะพบอยู่เฉพาะในฝูงนกแก้วโม่งด้วยกันเท่านั้นไม่ปะปนกับนกแก้วชนิดอื่น ๆ นอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ เป็นนกที่บินได้ดีและเร็ว ส่งเสียงร้องกันระงม สามารถพูดได้เมื่อนำมาเลี้ยงให้เชื่อง เวลาบินจะบินเป็นฝูงเล็กๆ 8-10 ตัว ชอบเกาะตามยอดไม้
นกแก้วโม่งผสมพันธุ์ในฤดูหนาวต่อฤดูร้อน หรือระหว่างเดือน ธันวาคม - เมษายน ทำรับอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองสุดท้ายของรัง ใช้ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 19-21 วัน
เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ลำตัวยาว 50-51 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560